วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย


บันทึกการตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย  

วันที่.............เดือน...........................พ.ศ....................
ที่
ชื่อสกุล
เล็บมือ
 เล็บเท้า
หู
  ผม
ตา
จมูก
ปาก
ฟัน
ผิวหนัง
เครื่อง
แต่งกาย
1
เด็กชายธาดากร    ปัดชาพรม






2
เด็กชายธีรภัทร      พรรณวิไล






3
เด็กชายนันท์ธนา  ชนะชาญ






4
เด็กชายอดิศักดิ์         ศรีพรม






5
เด็กหญิงธนภัทร       ตาธุวัน






6
เด็กหญิงปรินดา      โชติพันธ์






7
เด็กหญิงสุพรรณษา พลศิลป์






8
เด็กหญิงสุริวิภา        กมลรัตน์






9
เด็กหญิงอัญญาภรณ์  อันโย






10
เด็กหญิงวิไลวรรณ     บุคำ






11
เด็กชายปฏิพัฒน์     บุดดีภักดิ์






12
เด็กชายรุ่งวิกรัย       บัวหลาย






13
เด็กชายศักดิ์นรินทร์  ยมผา






14
เด็กหญิงกมลนิตย์   พรรณวิไล






15
เด็กหญิงบวรลักษณ์   แดงสุข






16
เด็กหญิงเพียงขวัญ     มาลา






17
เด็กหญิงอรอุมา         สีสุข






















ระดับคุณภาพ  4  หมายถึง  มีเล็บมือ   เล็บเท้า หู   ผม ตา  จมูก ปาก  ฟัน ผิวหนัง 

                           และเครื่องแต่งกายสะอาด เรียบร้อย

                        3  หมายถึง  มีเล็บมือ  เล็บเท้า หู   ตา  จมูก ปาก  ฟัน สะอาด เรียบร้อย
                        2  หมายถึง  มีเล็บมือ    ตา  จมูก ปาก  สะอาด
                       1  หมายถึง  ไม่มีการรักษาความสะอาดของร่างกายเป็นส่วนใหญ่

บทคัดย่อ รูปแบบการสอนศิริทัย


                      บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                       รายงานผลการใช้ชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัยเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
ชื่อผู้ศึกษา                   นางศิริทัย  ธโนปจัย
สาขา                            การศึกษาปฐมวัย
ปีที่ศึกษาวิจัย             2554

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านหว้าน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 และ2)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์                 ด้วยชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้  คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  ของโรงเรียนบ้านหว้าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4  จำนวน 18 คน เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง คือเนื้อหาและแนวคิดจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช  2546 และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย   จำนวน 12  หน่วย คือหน่วยกล้วย หน่วยไข่ หน่วยคณิตคิดสนุก หน่วยอากาศ หน่วยต้นไม้สีเขียว หน่วย ไม้ดอกไม้ประดับ หน่วยสัตว์น่ารัก หน่วยผลไม้น่ากิน หน่วยประสาทสัมผัส  หน่วยผัก หน่วยน้ำ และหน่วย   ตาวิเศษ ระยะเวลาในการ ทดลอง  12  สัปดาห์  คือระหว่างวันที่ 2 เดือนมกราคม  2555  ถึง วันที่ 23  มีนาคม   2555  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัยเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการปฏิบัติจริง สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 สรุปผลการวิจัย

                      1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกด้านอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 2.65  โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะสังเกต ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการจำแนกและทักษะการวัด ตามลำดับ ส่วนผลจากการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายทักษะ ทั้ง 4   ทักษะสามารถสรุปผลในแต่ละทักษะได้ดังนี้
                            1.1        ทักษะการสังเกต
                                  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.73
                            1.2 ทักษะการจำแนก
                                  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการจำแนก ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการจำแนกอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.63
                            1.3 ทักษะการวัด
                            การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการวัด ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.51
                            1.4 ทักษะการสื่อความหมาย
                            การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสื่อความหมาย ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสื่อความหมายอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.69
2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง  พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง คือ 1.83  และหลังการทดลองคือ 2.64  แสดงว่ามีความก้าวหน้าในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ย 0.81



วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการด้านการประสานงานระหว่างตาและมือในแต่ละช่วงวัยของเด็ก


เอื้อพร  สัมมาทิพย์  (2537)  กล่าวถึง  พัฒนาการด้านการประสานงานระหว่างตาและมือ  ในแต่ละช่วงวัยของเด็กก่อนวัยเรียน  ดังนี้  คือ  การใช้มือทั้งสองของทารก  ทารกแรกคลอดจะเอาหัวแม่มือเข้าปากได้  แต่ส่วนมากจะเข้าไม่ตรงปาก  จนกว่าอายุ  2-3  เดือน  และเวลาเข้ามักจะเข้าไปทั้งกำปั้น  ระยะนี้เด็กมักจะกำมืออยู่เสมอ  ต้องใช้เวลานานจึงจะแยกเอาหัวแม่มือออกได้  ดังนั้นจุดประสงค์ของการใช้มือของเด็กก็เพื่อนำอาหารสู่ปากด้วย  สัญชาตญาณ  แต่ถ้าสังเกตให้ดีก่อนใช้มือ  เด็กจะต้องใช้ตาจ้องดูสิ่งของที่อยากได้ก่อนและทำท่าพยายามจับต้อง
                                วัย  3-6  เดือน  ในวัยนี้เด็กจะหยิบของได้แต่ใช้มือกับนิ้วมือ  4  นิ้ว  แทนที่จะใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้และจะใช้ปากเป็นเครื่องเรียนรู้สิ่งของต่างๆ เด็กจะเริ่มจับยึด  และคว้าของต่างๆ  ได้ในระยะใกล้  ถ้ายื่นของเล่นที่เขย่ามีเสียงและมีด้ามจับ  เด็กจะคว้าตรงด้ามแล้วเขย่าได้  บางครั้งก็เอาใส่ปาก  รู้จักที่จะมองหาของเล่นเมื่อทำหลุดมือหายไป
                                วัย  6-9  เดือน  เด็กสามารถส่งของจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้  และจับของได้ทั้ง  2  มือ  สามารถหยิบจับของเล็กๆ  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้  ชอบที่จะโยนของเล่นเมื่อมีผู้ส่งให้ด้วยความสนุกสนาน  สามารถเล่นเกมตบแปะ
                                วัย  9-12  เดือน  เด็กสามารถใช้มือเหนี่ยวเกาะโต๊ะ  เก้าอี้  เพื่อยืนและเดิน  เด็กจะแสดงความสนใจที่จะสำรวจโลกรอบๆตัว  โดยการมองรอบๆ  แตะต้องสัมผัสของรอบๆ  ตัว  และนำของทุกอย่างเข้าปาก
                                วัย  1-1 ½  ปี  ในระยะก่อนหน้านี้  เด็กจะใช้มือได้ทั้ง  2  มือเท่าๆ  กัน  แต่พออายุ  1  ปี  เด็กจะเริ่มแสดงว่าฉันถนัดมือขวา  หรือมือซ้าย  มีนักการศึกษาบางคนกล่าวว่าเป็นเรื่องพันธุกรรม  แต่  อดัม  แบลน  (Adam Blan, n.d. อ้างถึงใน  เอื้อพร  สัมมาทิพย์,  2537)  จากเรื่อง  The  Master  Hand  กล่าวว่า  การถนัดซ้ายขวาไม่ใช่พันธุกรรม  แต่เป็นสิ่งที่ฝึกหัดจากความเคยชิน  ดังนั้นหากต้องการให้เด็กใช้มือขวาจนติดเป็นนิสัยก็ต้องฝึกตั้งแต่แรกที่เด็กเริ่มใช้มือ  เด็กในวัยนี้มีความสามารถที่จะเอาไม้วางซ้อนๆ  กันได้  2-3  ชิ้น  หยิบของใส่ภาชนะได้  เช่น  หยิบกรวด  หรือขนมชิ้นเล็กๆ  ใส่ถ้วย
                                วัย  1 ½ - 2  ปี  เด็กสามารถจับไม้เรียงซ้อนกันได้ถึง  6  ชิ้น  ชี้ส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามคำบอกได้  เช่น  ชี้ตา  ชี้จมูก  สามารถใช้ช้อนป้อนอาหารให้ตนเองได้  แต่ยังไม่ดีนัก  เปิดหนังสือเป็น  เปิดประตูได้  บิดหรือหมุนปุ่มต่างๆ  เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์  หรือ  ของเล่น  หมุนปิด-เปิดฝาเกลียวที่มีขนาดใหญ่  3  นิ้ว  สามารถขีดเส้น  ลากเส้นบนกระดาษ  หรือบนพื้นทรายได้ตามแบบ
                                วัย  2-3  ปี  เด็กสามารถจัดเรียงไม้ซ้อนกัน  3  ชิ้น  เป็นสะพานได้  แกะห่อของขนาดเล็กที่ผูกไว้หลวมๆ  ได้  หมุนลูกบิดเพื่อเปิดประตูได้  ป้อนอาหารตัวเองได้ดีขึ้น  เริ่มหัดแต่งตัวเองแต่ยังไม่ดีนัก  ตัดดินน้ำมันนุ่มๆ  ด้วยมีดทาเนย  หรือไม้บรรทัดได้  ร้อยลูกปัดที่มีขนาดใหญ่  1  นิ้ว  ชอบฉีกกระดาษ  เล่นกับนิ้วมือโดยมีเพลงประกอบ  สามารถเขียนรูปวงกลมบนกระดาษหรือบนพื้นทรายได้ตามแบบ  สามารถจับกรรไกรได้
                                วัย  3-4  ปี  เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียน เด็กในวัยนี้มีความสามารถ  ดังนี้คือ
-                   ต่อแท่งไม้ลูกบาศก์ได้  9-10  ก้อน
-                   วางรูป  r  และ m  ลงในแผ่นไม้ตามมุมได้
-                   ใช้ค้อนตอกตะปูลงบนไม้  หรือตอกหมุดไม้ลงในช่องแบบ  5-6  ตัว
-                   หมุนเปิด  ปิด  ฝาเกลียวที่มีขนาดใหญ่  1  นิ้ว
-                   การวาดภาพรู้จักลงน้ำหนักเส้นที่ลากดีขึ้น  เขียนรูปหัวและตัว  หรืออาจจะส่วนอื่นๆของร่างกาย
-                   รู้จักพับกระดาษ
-                   ไขลานของเล่นได้
-                   ร้อยลูกปัดขนาดเล็ก ½  นิ้ว  ได้อย่างน้อย  5  เม็ด
-                   หยิบเข็มกลัดขนาดยาว  2  ซม.  ได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้
-                   คัดแยกวัตถุที่ไม่เหมือนกับของในกองออกได้
-                   รู้จักแต่งตัว  ใส่-ถอด  เสื้อผ้าได้เอง
-                   สามารถใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นเส้นยาวๆได้
-                   ปั้นดินน้ำมันแล้วคลึงเป็นเส้นยาวๆ  ปั้นเป็นวงกลม  แล้วแผ่เป็นแผ่นวงกลม
-                   จับดินสอได้ถูกต้อง
-                   เลียนแบบเขียนเส้นต่างๆ  ได้  เช่น  $ ' ( ¦
-                   เลียนแบบเขียนรูปกากบาท (X)  และรูปฟันปลา 
-                   ระบายสีได้โดยออกนอกเส้นขอบรูปไม่เกิน  1-2  ซม.
วัย  4-5  ปี  เด็กจะมีความสามารถในการใช้ทักษะการประสานงานระหว่างตาและมือ
ดังนี้
-                   เสียบคลิปกระดาษลงบนกระดาษ
-                   จับดินสอด้วยนิ้วมือในท่าทางที่ถูกต้อง
-                   พับกระดาษซ้อนกัน  3  ทบได้  และใช้นิ้วรีดตามรอยพับ
-                   ประกอบภาพตัดต่อ  6-10  ชิ้น  ลงในกรอบ
-                   มีความคล่องในการใช้กรรไกร  ตัดกระดาษเป็นรูป  £
-                   ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปร่างหยาบๆ  ที่ผู้อื่นอาจไม่เข้าใจความหมาย
-                   เขียนรูป  มีหัว  มีตัว  มีส่วนจ่างๆ  ของร่างกาย  ที่สำคัญๆ  ได้
-                   เขียนรูป £  หรือ  r ตามแบบได้
-                   สามารถเขียนเส้น  (เส้นตามรอยประ)
-                   วาดรูปบ้านแบบง่ายๆ
-                   ระบายสีรูปทรง  และแบบอิสระง่ายๆ  ที่มีขนาดใหญ่ภายในขอบรูป
-                   สามารถงอนิ้วมือของตนเอง  เอาขึ้นหรือหดลงทีละนิ้ว
-                   สามารถกะขนาด  รูปร่าง  ของสิ่งของ  รู้ว่าอะไรเล็ก  หรือใหญ่
วัย  5-6  ปี  เด็กจะมีความสามารถในการใช้ทักษะการประสานงานระหว่างตาและมือ
ดังนี้
-                   สามารถรับลูกบอลที่โยนมาจากระยะไกล  1  เมตร
-                   ใช้อุปกรณ์ต่างๆ  ประกอบการเล่นดินน้ำมัน   เช่น  ขวด  มีดพลาสติก  ตัวพิมพ์รูปต่างๆ
-                   กรอกน้ำ  ลงในภาชนะ  และเทออกได้
-                   ไขและหมุนลูกบิดประตูด้วยกุญแจ
-                   เปิด-ปิด  เข็มกลัดที่มีขนาดใหญ่ได้
-                   ร้อยด้ายขึ้นลงผ่านรูที่เจาะบนกระดาษฝึกการเย็บ
-                   ต่อแท่งไม้เป็นรูปต่างๆ ได้
-                   ประกอบภาพตัดต่อ  16-20  ชิ้น  เข้าด้วยกันลงในกรอบ
-                   ใช้กรรไกรได้คล่อง  ตัดกระดาษตามรอยเป็นภาพต่างๆได้
-                   ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปร่างสิ่งของที่มีรายละเอียดสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-                   เขียนรูป  มีหัว  มีขาแขน  และมือได้
-                   เขียนรูป  r   ตามคำสั่งโดยไม่มีแบบ
-                   ลอกแบบตัวพยัญชนะขนาดสูง  2-4  ซม.
-                   เขียนตัวพยัญชนะตามรอยประได้
-                   เขียนชื่อตัวเองได้
-                   ระบายสีภาพที่มีความละเอียด  เล็ก  โดยอยู่ในขอบเขต