วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2554

คัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2554
          ดร.องค์กร  อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้แบ่งกลุ่มคณะอนุกรรมการคัดเลือกผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2554 ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครู มีนายธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์ เป็นประธาน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา มีนายปัญญา แก้วเหล็ก เป็นประธาน และกลุ่มผู้บริหารการศึกษา/ศึกษานิเทศก์ มีนายอนุสรณ์ ไทยเดชา เป็นประธาน โดยคณะอนุกรรมการฯเดินทางประเมินผลงานผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ได้รับ การคัดเลือก ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2554 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2554 เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ในวันที่ 13 ธันวาคม 2554 และจะนำเสนอคณะอนุกรรมการยกย่องและส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อพิจารณาต่อไป
          สำหรับรายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อขอรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2554 ที่คณะอนุกรรมการฯ ประเมินผลงาน ประกอบด้วย
         กลุ่มครู จำนวน 15 คน คือ นายยินดี วรรณมณี โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช ดร.สุวรรณ จุ้ยทอง โรงเรียนอนุบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง นางกรองแก้ว แซ่อุ่ย โรงเรียนถลางพระนางสร้าง จังหวัดภูเก็ต นายวิวัฒน์ เพชรศรี โรงเรียนสฤษดิ์เดช จังหวัดจันทบุรี นางอลิสา ใบแย้ม โรงเรียนบ้านหนองคาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นางจารุณี สุทธิสวรรค์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก) จังหวัดเชียงใหม่ นายบุญโชติ แสงคำ โรงเรียนบ้านม่วงสามสี จังหวัดลำพูน นายวีระ ทองทาบวงศ์ วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา จังหวัดลำปาง นางเพชรา พรหมขันธ์ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ นางศิริทัย ธโนปจัย โรงเรียนบ้านหว้าน จังหวัดอุบลราชธานี นางวีระยา ศิริรัขฎานันท์ โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ นายสุเทพ ทิพโชติ โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยาฯ จังหวัดชัยภูมิ นางดารา เรืองแสง โรงเรียนบ้านนาดี จังหวัดหนองบัวลำภู นายอรรณพ คิดประเสริฐ โรงเรียนวัดหนองสองห้อง จังหวัดสมุทรสาคร และนางพรรณี อุ่นละม้าย โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา กรุงเทพมหานคร
          กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน คือนายณัฐพล เนื่องชมภู โรงเรียนอนุบาลหนองควาย จังหวัดอุดรธานี นายไพรินทร์ ศรีวิพัฒน์ โรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี นายสำเริง กุจิรพันธ์ โรงเรียนอนุบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม นางกมลพรรธน์  ทิพยไกรศรโชติ โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” จังหวัดชลบุรี นายวิสัน สุคะมะโน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา และนายบุญส่ง เพ่งผล โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์          
          กลุ่มผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน คือ นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 1 จังหวัดพัทลุง นายสมเดช สีแสง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จังหวัดนครสวรรค์ และนายศลใจ วิบูลกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 1 จังหวัดพัทลุง
          กลุ่มศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน คือ นายธำรง นนท์ตา ศึกษานิเทศก์ คศ.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จังหวัดบุรีรัมย์ นางรัติพร ภาธรธุวานนท์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 จังหวัดมหาสารคาม และนางจารุวรรณ สายคำฟู ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 จังหวัดลำปาง


1 ธันวาคม 2554
http://www.ksp.or.th/ksp2009/th/news/detail.php?NewsID=2639&Key=informationnews

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2554

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2554 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1 ปีเถาะ หน้า 23


วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่อ "รายงานการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย "

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้รายงาน นางศิริทัย ธโนปจัย
สาขา การศึกษาปฐมวัย
ปีที่ศึกษาวิจัย 2553

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านหินแห่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 และ2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านหินแห่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 ก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนบ้านหินแห่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 18 คน เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง คือเนื้อหาและแนวคิดจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย จำนวน 12 หน่วย คือหน่วยกล้วย หน่วยไข่ หน่วยคณิตคิดสนุก หน่วยอากาศ หน่วยต้นไม้สีเขียว หน่วย ไม้ดอกไม้ประดับ หน่วยสัตว์น่ารัก หน่วยผลไม้น่ากิน หน่วยประสาทสัมผัส หน่วยผัก หน่วยน้ำ และหน่วย ตาวิเศษ ระยะเวลาในการ ทดลอง 12 สัปดาห์ คือระหว่างวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน 2553 ถึง วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวน การคิดวางแผน ปฏิบัติ ทบทวนของไฮ-สโคป และแบบทดสอบโดยการปฏิบัติจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกด้านอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 2.65 โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะสังเกต ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการจำแนกและทักษะการวัด ตามลำดับ ส่วนผลจากการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายทักษะ ทั้ง 4 ทักษะสามารถสรุปผลในแต่ละทักษะได้ดังนี้
1.1 ทักษะการสังเกต
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.73
1.2 ทักษะการจำแนก
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการจำแนก ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการจำแนกอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.63
1.3 ทักษะการวัด
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการวัด ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.51
1.4 ทักษะการสื่อความหมาย
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสื่อความหมาย ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสื่อความหมายอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.69
2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่าง ชัดเจน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง คือ 1.83 และหลังการทดลองคือ 2.64 แสดงว่ามีความก้าวหน้าในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ย 0.81

ประมวลภาพบางส่วน งานวันอำลาอาลัย

 ลาศิษย์รัก


อดีตผู้บังคับบัญชามาให้กำลังใจ

เพื่อนครูมอบดอกไม้


รับฟังโอวาท 

กล่าวอำลาผู้บังคับบัญชา และเพื่อนครู

ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนบ้านหว้านให้การต้อนรับอย่างดี

มาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นนะคะ

ทำความรู้จักกันก่อน


คุณครูตุ๊ก หรืออาจารย์ศิริทัย ธโนปจัย 
ตำแหน่งครูคศ.2 
โรงเรียนบ้านหว้าน 
อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี