วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทคัดย่อ "รายงานการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย "

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้รายงาน นางศิริทัย ธโนปจัย
สาขา การศึกษาปฐมวัย
ปีที่ศึกษาวิจัย 2553

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านหินแห่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 และ2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านหินแห่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 ก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนบ้านหินแห่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 18 คน เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง คือเนื้อหาและแนวคิดจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย จำนวน 12 หน่วย คือหน่วยกล้วย หน่วยไข่ หน่วยคณิตคิดสนุก หน่วยอากาศ หน่วยต้นไม้สีเขียว หน่วย ไม้ดอกไม้ประดับ หน่วยสัตว์น่ารัก หน่วยผลไม้น่ากิน หน่วยประสาทสัมผัส หน่วยผัก หน่วยน้ำ และหน่วย ตาวิเศษ ระยะเวลาในการ ทดลอง 12 สัปดาห์ คือระหว่างวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน 2553 ถึง วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวน การคิดวางแผน ปฏิบัติ ทบทวนของไฮ-สโคป และแบบทดสอบโดยการปฏิบัติจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกด้านอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 2.65 โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะสังเกต ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการจำแนกและทักษะการวัด ตามลำดับ ส่วนผลจากการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายทักษะ ทั้ง 4 ทักษะสามารถสรุปผลในแต่ละทักษะได้ดังนี้
1.1 ทักษะการสังเกต
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.73
1.2 ทักษะการจำแนก
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการจำแนก ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการจำแนกอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.63
1.3 ทักษะการวัด
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการวัด ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.51
1.4 ทักษะการสื่อความหมาย
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสื่อความหมาย ข้อมูลจากการใช้ชุดกิจกรรมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสื่อความหมายอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.69
2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่าง ชัดเจน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง คือ 1.83 และหลังการทดลองคือ 2.64 แสดงว่ามีความก้าวหน้าในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ย 0.81

ประมวลภาพบางส่วน งานวันอำลาอาลัย

 ลาศิษย์รัก


อดีตผู้บังคับบัญชามาให้กำลังใจ

เพื่อนครูมอบดอกไม้


รับฟังโอวาท 

กล่าวอำลาผู้บังคับบัญชา และเพื่อนครู

ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนบ้านหว้านให้การต้อนรับอย่างดี

มาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นนะคะ

ทำความรู้จักกันก่อน


คุณครูตุ๊ก หรืออาจารย์ศิริทัย ธโนปจัย 
ตำแหน่งครูคศ.2 
โรงเรียนบ้านหว้าน 
อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี