วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พัฒนาการด้านการประสานงานระหว่างตาและมือในแต่ละช่วงวัยของเด็ก


เอื้อพร  สัมมาทิพย์  (2537)  กล่าวถึง  พัฒนาการด้านการประสานงานระหว่างตาและมือ  ในแต่ละช่วงวัยของเด็กก่อนวัยเรียน  ดังนี้  คือ  การใช้มือทั้งสองของทารก  ทารกแรกคลอดจะเอาหัวแม่มือเข้าปากได้  แต่ส่วนมากจะเข้าไม่ตรงปาก  จนกว่าอายุ  2-3  เดือน  และเวลาเข้ามักจะเข้าไปทั้งกำปั้น  ระยะนี้เด็กมักจะกำมืออยู่เสมอ  ต้องใช้เวลานานจึงจะแยกเอาหัวแม่มือออกได้  ดังนั้นจุดประสงค์ของการใช้มือของเด็กก็เพื่อนำอาหารสู่ปากด้วย  สัญชาตญาณ  แต่ถ้าสังเกตให้ดีก่อนใช้มือ  เด็กจะต้องใช้ตาจ้องดูสิ่งของที่อยากได้ก่อนและทำท่าพยายามจับต้อง
                                วัย  3-6  เดือน  ในวัยนี้เด็กจะหยิบของได้แต่ใช้มือกับนิ้วมือ  4  นิ้ว  แทนที่จะใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้และจะใช้ปากเป็นเครื่องเรียนรู้สิ่งของต่างๆ เด็กจะเริ่มจับยึด  และคว้าของต่างๆ  ได้ในระยะใกล้  ถ้ายื่นของเล่นที่เขย่ามีเสียงและมีด้ามจับ  เด็กจะคว้าตรงด้ามแล้วเขย่าได้  บางครั้งก็เอาใส่ปาก  รู้จักที่จะมองหาของเล่นเมื่อทำหลุดมือหายไป
                                วัย  6-9  เดือน  เด็กสามารถส่งของจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้  และจับของได้ทั้ง  2  มือ  สามารถหยิบจับของเล็กๆ  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้  ชอบที่จะโยนของเล่นเมื่อมีผู้ส่งให้ด้วยความสนุกสนาน  สามารถเล่นเกมตบแปะ
                                วัย  9-12  เดือน  เด็กสามารถใช้มือเหนี่ยวเกาะโต๊ะ  เก้าอี้  เพื่อยืนและเดิน  เด็กจะแสดงความสนใจที่จะสำรวจโลกรอบๆตัว  โดยการมองรอบๆ  แตะต้องสัมผัสของรอบๆ  ตัว  และนำของทุกอย่างเข้าปาก
                                วัย  1-1 ½  ปี  ในระยะก่อนหน้านี้  เด็กจะใช้มือได้ทั้ง  2  มือเท่าๆ  กัน  แต่พออายุ  1  ปี  เด็กจะเริ่มแสดงว่าฉันถนัดมือขวา  หรือมือซ้าย  มีนักการศึกษาบางคนกล่าวว่าเป็นเรื่องพันธุกรรม  แต่  อดัม  แบลน  (Adam Blan, n.d. อ้างถึงใน  เอื้อพร  สัมมาทิพย์,  2537)  จากเรื่อง  The  Master  Hand  กล่าวว่า  การถนัดซ้ายขวาไม่ใช่พันธุกรรม  แต่เป็นสิ่งที่ฝึกหัดจากความเคยชิน  ดังนั้นหากต้องการให้เด็กใช้มือขวาจนติดเป็นนิสัยก็ต้องฝึกตั้งแต่แรกที่เด็กเริ่มใช้มือ  เด็กในวัยนี้มีความสามารถที่จะเอาไม้วางซ้อนๆ  กันได้  2-3  ชิ้น  หยิบของใส่ภาชนะได้  เช่น  หยิบกรวด  หรือขนมชิ้นเล็กๆ  ใส่ถ้วย
                                วัย  1 ½ - 2  ปี  เด็กสามารถจับไม้เรียงซ้อนกันได้ถึง  6  ชิ้น  ชี้ส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามคำบอกได้  เช่น  ชี้ตา  ชี้จมูก  สามารถใช้ช้อนป้อนอาหารให้ตนเองได้  แต่ยังไม่ดีนัก  เปิดหนังสือเป็น  เปิดประตูได้  บิดหรือหมุนปุ่มต่างๆ  เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์  หรือ  ของเล่น  หมุนปิด-เปิดฝาเกลียวที่มีขนาดใหญ่  3  นิ้ว  สามารถขีดเส้น  ลากเส้นบนกระดาษ  หรือบนพื้นทรายได้ตามแบบ
                                วัย  2-3  ปี  เด็กสามารถจัดเรียงไม้ซ้อนกัน  3  ชิ้น  เป็นสะพานได้  แกะห่อของขนาดเล็กที่ผูกไว้หลวมๆ  ได้  หมุนลูกบิดเพื่อเปิดประตูได้  ป้อนอาหารตัวเองได้ดีขึ้น  เริ่มหัดแต่งตัวเองแต่ยังไม่ดีนัก  ตัดดินน้ำมันนุ่มๆ  ด้วยมีดทาเนย  หรือไม้บรรทัดได้  ร้อยลูกปัดที่มีขนาดใหญ่  1  นิ้ว  ชอบฉีกกระดาษ  เล่นกับนิ้วมือโดยมีเพลงประกอบ  สามารถเขียนรูปวงกลมบนกระดาษหรือบนพื้นทรายได้ตามแบบ  สามารถจับกรรไกรได้
                                วัย  3-4  ปี  เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียน เด็กในวัยนี้มีความสามารถ  ดังนี้คือ
-                   ต่อแท่งไม้ลูกบาศก์ได้  9-10  ก้อน
-                   วางรูป  r  และ m  ลงในแผ่นไม้ตามมุมได้
-                   ใช้ค้อนตอกตะปูลงบนไม้  หรือตอกหมุดไม้ลงในช่องแบบ  5-6  ตัว
-                   หมุนเปิด  ปิด  ฝาเกลียวที่มีขนาดใหญ่  1  นิ้ว
-                   การวาดภาพรู้จักลงน้ำหนักเส้นที่ลากดีขึ้น  เขียนรูปหัวและตัว  หรืออาจจะส่วนอื่นๆของร่างกาย
-                   รู้จักพับกระดาษ
-                   ไขลานของเล่นได้
-                   ร้อยลูกปัดขนาดเล็ก ½  นิ้ว  ได้อย่างน้อย  5  เม็ด
-                   หยิบเข็มกลัดขนาดยาว  2  ซม.  ได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้
-                   คัดแยกวัตถุที่ไม่เหมือนกับของในกองออกได้
-                   รู้จักแต่งตัว  ใส่-ถอด  เสื้อผ้าได้เอง
-                   สามารถใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นเส้นยาวๆได้
-                   ปั้นดินน้ำมันแล้วคลึงเป็นเส้นยาวๆ  ปั้นเป็นวงกลม  แล้วแผ่เป็นแผ่นวงกลม
-                   จับดินสอได้ถูกต้อง
-                   เลียนแบบเขียนเส้นต่างๆ  ได้  เช่น  $ ' ( ¦
-                   เลียนแบบเขียนรูปกากบาท (X)  และรูปฟันปลา 
-                   ระบายสีได้โดยออกนอกเส้นขอบรูปไม่เกิน  1-2  ซม.
วัย  4-5  ปี  เด็กจะมีความสามารถในการใช้ทักษะการประสานงานระหว่างตาและมือ
ดังนี้
-                   เสียบคลิปกระดาษลงบนกระดาษ
-                   จับดินสอด้วยนิ้วมือในท่าทางที่ถูกต้อง
-                   พับกระดาษซ้อนกัน  3  ทบได้  และใช้นิ้วรีดตามรอยพับ
-                   ประกอบภาพตัดต่อ  6-10  ชิ้น  ลงในกรอบ
-                   มีความคล่องในการใช้กรรไกร  ตัดกระดาษเป็นรูป  £
-                   ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปร่างหยาบๆ  ที่ผู้อื่นอาจไม่เข้าใจความหมาย
-                   เขียนรูป  มีหัว  มีตัว  มีส่วนจ่างๆ  ของร่างกาย  ที่สำคัญๆ  ได้
-                   เขียนรูป £  หรือ  r ตามแบบได้
-                   สามารถเขียนเส้น  (เส้นตามรอยประ)
-                   วาดรูปบ้านแบบง่ายๆ
-                   ระบายสีรูปทรง  และแบบอิสระง่ายๆ  ที่มีขนาดใหญ่ภายในขอบรูป
-                   สามารถงอนิ้วมือของตนเอง  เอาขึ้นหรือหดลงทีละนิ้ว
-                   สามารถกะขนาด  รูปร่าง  ของสิ่งของ  รู้ว่าอะไรเล็ก  หรือใหญ่
วัย  5-6  ปี  เด็กจะมีความสามารถในการใช้ทักษะการประสานงานระหว่างตาและมือ
ดังนี้
-                   สามารถรับลูกบอลที่โยนมาจากระยะไกล  1  เมตร
-                   ใช้อุปกรณ์ต่างๆ  ประกอบการเล่นดินน้ำมัน   เช่น  ขวด  มีดพลาสติก  ตัวพิมพ์รูปต่างๆ
-                   กรอกน้ำ  ลงในภาชนะ  และเทออกได้
-                   ไขและหมุนลูกบิดประตูด้วยกุญแจ
-                   เปิด-ปิด  เข็มกลัดที่มีขนาดใหญ่ได้
-                   ร้อยด้ายขึ้นลงผ่านรูที่เจาะบนกระดาษฝึกการเย็บ
-                   ต่อแท่งไม้เป็นรูปต่างๆ ได้
-                   ประกอบภาพตัดต่อ  16-20  ชิ้น  เข้าด้วยกันลงในกรอบ
-                   ใช้กรรไกรได้คล่อง  ตัดกระดาษตามรอยเป็นภาพต่างๆได้
-                   ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปร่างสิ่งของที่มีรายละเอียดสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
-                   เขียนรูป  มีหัว  มีขาแขน  และมือได้
-                   เขียนรูป  r   ตามคำสั่งโดยไม่มีแบบ
-                   ลอกแบบตัวพยัญชนะขนาดสูง  2-4  ซม.
-                   เขียนตัวพยัญชนะตามรอยประได้
-                   เขียนชื่อตัวเองได้
-                   ระบายสีภาพที่มีความละเอียด  เล็ก  โดยอยู่ในขอบเขต

บันทึกการนำเสนอข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน


บันทึกการนำเสนอข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน


วัน ............................ที่.......... เดือน.................................พ.ศ. ............

เนื้อหาข่าว

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................



ที่มาหนังสือพิมพ์ .......................................ฉบับวันที่......................................................................

ชื่อผู้นำเสนอข่าวเด็กหญิง /เด็กชาย ................................................................... ชั้น...............





คำถาม.......................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................
คำตอบ.......................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................


ลงชื่อ............................................................ครูผู้ตรวจ
     (..............................................................)

บัญชีคำพื้นฐาน ระดับปฐมวัย 201-242


คำที่
คำ
คำที่
คำ
คำที่
คำ
คำที่
คำ
201
กวาง
212
ถนน
223
ถุง
234
ถั่ว
202
ร้องไห้
213
วิทยุ
224
ไล่
235
คอ
203
วัด
214
อ่าน
225
ติด
236
ตะหลิว
204
มะขาม
215
ทัพพี
226
เปิด
237
ปลาทู
205
หมาป่า
216
องุ่น
227
มัด
238
ตับ
206
ลางสาด
217
มะยม
228
ผักชี
239
กระโดด
207
ชาวนา
218
หมวก
229
บิน
240
ตก
208
ประตู
219
กระเป๋า
230
มะลิ
241
กราบ
209
ฝรั่ง (ผลไม้)
220
กะหล่ำปลี
231
รถยนต์
242
กุ้ง
210
นั่น
221
นิ้ว
232
กระป๋อง


211
ฉัน (ส)
222
กวาด
233
ฉีดยา


รวมทั้งสิ้น    242   คำ