วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย


บันทึกการตรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย  

วันที่.............เดือน...........................พ.ศ....................
ที่
ชื่อสกุล
เล็บมือ
 เล็บเท้า
หู
  ผม
ตา
จมูก
ปาก
ฟัน
ผิวหนัง
เครื่อง
แต่งกาย
1
เด็กชายธาดากร    ปัดชาพรม






2
เด็กชายธีรภัทร      พรรณวิไล






3
เด็กชายนันท์ธนา  ชนะชาญ






4
เด็กชายอดิศักดิ์         ศรีพรม






5
เด็กหญิงธนภัทร       ตาธุวัน






6
เด็กหญิงปรินดา      โชติพันธ์






7
เด็กหญิงสุพรรณษา พลศิลป์






8
เด็กหญิงสุริวิภา        กมลรัตน์






9
เด็กหญิงอัญญาภรณ์  อันโย






10
เด็กหญิงวิไลวรรณ     บุคำ






11
เด็กชายปฏิพัฒน์     บุดดีภักดิ์






12
เด็กชายรุ่งวิกรัย       บัวหลาย






13
เด็กชายศักดิ์นรินทร์  ยมผา






14
เด็กหญิงกมลนิตย์   พรรณวิไล






15
เด็กหญิงบวรลักษณ์   แดงสุข






16
เด็กหญิงเพียงขวัญ     มาลา






17
เด็กหญิงอรอุมา         สีสุข






















ระดับคุณภาพ  4  หมายถึง  มีเล็บมือ   เล็บเท้า หู   ผม ตา  จมูก ปาก  ฟัน ผิวหนัง 

                           และเครื่องแต่งกายสะอาด เรียบร้อย

                        3  หมายถึง  มีเล็บมือ  เล็บเท้า หู   ตา  จมูก ปาก  ฟัน สะอาด เรียบร้อย
                        2  หมายถึง  มีเล็บมือ    ตา  จมูก ปาก  สะอาด
                       1  หมายถึง  ไม่มีการรักษาความสะอาดของร่างกายเป็นส่วนใหญ่

บทคัดย่อ รูปแบบการสอนศิริทัย


                      บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                       รายงานผลการใช้ชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัยเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   
ชื่อผู้ศึกษา                   นางศิริทัย  ธโนปจัย
สาขา                            การศึกษาปฐมวัย
ปีที่ศึกษาวิจัย             2554

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านหว้าน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 และ2)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์                 ด้วยชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้  คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  ของโรงเรียนบ้านหว้าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4  จำนวน 18 คน เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง คือเนื้อหาและแนวคิดจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช  2546 และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย   จำนวน 12  หน่วย คือหน่วยกล้วย หน่วยไข่ หน่วยคณิตคิดสนุก หน่วยอากาศ หน่วยต้นไม้สีเขียว หน่วย ไม้ดอกไม้ประดับ หน่วยสัตว์น่ารัก หน่วยผลไม้น่ากิน หน่วยประสาทสัมผัส  หน่วยผัก หน่วยน้ำ และหน่วย   ตาวิเศษ ระยะเวลาในการ ทดลอง  12  สัปดาห์  คือระหว่างวันที่ 2 เดือนมกราคม  2555  ถึง วันที่ 23  มีนาคม   2555  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัยเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการปฏิบัติจริง สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 สรุปผลการวิจัย

                      1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดเตรียมความพร้อมตามรูปแบบการสอนศิริทัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกด้านอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 2.65  โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะสังเกต ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการจำแนกและทักษะการวัด ตามลำดับ ส่วนผลจากการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รายทักษะ ทั้ง 4   ทักษะสามารถสรุปผลในแต่ละทักษะได้ดังนี้
                            1.1        ทักษะการสังเกต
                                  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.73
                            1.2 ทักษะการจำแนก
                                  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการจำแนก ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการจำแนกอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.63
                            1.3 ทักษะการวัด
                            การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการวัด ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.51
                            1.4 ทักษะการสื่อความหมาย
                            การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสื่อความหมาย ข้อมูลจากการใช้ชุดเตรียมความพร้อมและสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสื่อความหมายอยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  2.69
2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง  พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง คือ 1.83  และหลังการทดลองคือ 2.64  แสดงว่ามีความก้าวหน้าในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ย 0.81